|
|
พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ
|
พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า
|
|
(พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 11 สิงหาคม พศ. 2548 ณ.ศาลาดุสิดาลัย) |
เมื่อปี พศ.2545 สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จ ณ โรงเรียนบ้านหนองหินตั้ง ต.นาเหล่า อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู เพื่อเยี่ยมเยือนราษฎรท่านทรงมีพระเมตตากับราษฎรที่บ้านหนองหินตั้งและหมู่ บ้านใกล้เคียง ปี พศ.2545 ท่านทรงมีพระเมตตากับราษฎรบ้านหนองหินตั้ง ทรงได้มีโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริก่อสร้างทำนบดิน ขุดลอกห้วยซำปาคาด ณ บริเวณพื้นที่ ไร่คุณเหรียญ (ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ) ความจุ 40000 ลูกบาศก์เมตร มอบให้ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พศ.2545 โดยกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ มีประชาชนในหมู่บ้านรวมทั้งหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาใช้น้ำและหาปลาเพื่อยัง ชีพ และ ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นวันลอยกระทง ฯลฯ นางเหรียญ ศรีวังแจ ก็ยังได้พัฒนาสวนและเดินตาม แนว พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน แนวทางเศรษกิจพอเพียง โดยทำเกษตรผสมผสาน และพึ่งตนเองแบบพอเพียง โดยทำมาเป็นเวลานาน จนถึง ณ ปัจจุบัน พศ. 2552 เดือนมกราคม จากสวน เกษตร (ไร่คุณเหรียญ) ได้พัฒนามาเป็น แหล่งเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งตนเองเพื่อเป็น ศูนย์กลางอบรม แหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน และเผยแพร่การสอนการทำเกษตร แบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีชื่อว่า ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ |
|
ศูนย์์ป่ารักษ์น้ำแหล่งเรียนรู้ชุมชนทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิต ที่เป็นจริงกับระบบ เศรษฐกิจ พอเพียงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะ วิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ของ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพออยู่พอกินตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวม ข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้อง การเรียนรู้ของชุมชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการ เปลี่ยน แปลงของสังคมก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และ พัฒนาแบบพึ่งตนเองเป็นศูนย์ฯของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อ ประชาชนที่จะก่อ ให้เกิด ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน |
:: ความหมายของ ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ มีน้ำ มีป่าชีวิตก็เพียงพอ :: |
เพื่อให้ การดำเนินการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลท้องถิ่นตลอดจนองค์กรเอกชน ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประ สิทธิผลต่อการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนของมนุษย์เพื่อ ให้บรรลุ เป้าหมายตาม แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตฉบับที่ 10 ในการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มิคุณ ค่าและคุณภาพในด้านต่างๆนั้น จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชากรของประเทศ ให้มีความรู้ มีประสบการณ์ มีทักษะ มีคุณธรรมในการบริหารตนเองชุมชน & องค์กรฯ ประเทศชาติทั้งใน ด้านผู้นำและผู้ตาม อย่างถูก ต้อง จึงจะส่งผลให้สังคมประเทศชาติมีเสถียรภาพ มีความสงบสุข อย่างยั่งยืน และถาวร จากหลักฐานในเบื้องต้น ชุมชน ท้องถิ่นจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรม แหล่งเรียนรู้ทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิตที่เป็นจริงกับระบบ เศรษฐกิจ สังคมให้มากที่สุด สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะวิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ ขององค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการ บริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดหนองบัวลำภู ภายใต้ วิสัยทัศน์ หนองบัวลำภูเมืองน่าอยู่ เคียงคู้รู้ค่าธรรมชาติ ชาญ ฉลาดทำกิน ดินแดนสันติสุข ในการนำวิสัยทัศน์ข้างต้นของจังหวัดมา ดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้อง สร้างคน ในชุมชน ให้เข้าใจวิถีเศรษฐกิจพอเพียง จึงจัดตั้งศูนย์กลางเพื่อเรียนรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานการแลก เปลี่ยนประสบการณ์ การสร้าง ภาคีเครือข่าย เชื่อมโยง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง จึงมีการจัดตั้งศูนย์ฯแห่งนี้ขึ้น |
Beginning of Paraknam Agriculture Learning Centre |
|
|