|
.:. กิจกรรมของศูนย์ป่ารักษ์น้ำ .:. |
:: กิจกรรมของศูนย์ :: |
|
![](../image/spacer.gif) |
1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง |
![](../image/spacer.gif) |
เป็นศูนย์ฯที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีปราชญ์ชาวบ้านได้ดำเนินการเป็นตัวอย่าง โดยเริ่มจากครอบครัวซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นพื้นฐาน มีความพอเพียงในการดำรงชีวิต ลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น ไม่มีหนี้สิน เมื่อครอบครัวมีความพร้อมด้านปัจจัย 4 แล้วจึงขยายผลไปสู่ชุมชน สามารถให้บุคคลอื่นยึดถือเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต |
![](../image/spacer.gif) |
2) ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ให้บริการทางวิชาการ |
![](../image/spacer.gif) |
ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ฝึกอาชีพ สาธิต จัดนิทรรศการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ฯลฯ ระหว่างปราชญ์ชาวบ้าน (วิทยากร) กับประชาชนในชุมชน (ผู้เรียน) เป็นต้น |
![](../image/spacer.gif) |
3 ) ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาชีพ |
|
เป็นศูนย์ฯ ที่ดำเนินการกิจกรรมของกลุ่มอาชีพต่างๆเช่นการประชุมคณะกรรมการประชุมสมาชิกกลุ่มการบริหารการจัดการของกลุ่ม การฝึกอบรม พัฒนาทักษะ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาด้านการ ตลาด ฯลฯ |
![](../image/spacer.gif) |
4) ห้องสมุดประชาชน |
|
เป็นสถานที่ที่ให้บริการสื่อประเภทต่างๆเช่น หนังสือ เอกสาร โสตทัศนูปกรณ์โทรทัศน์โดยมุ่งเสริมให้ประชาชน เกิดการศึกษาตามอัธยาศัยและใช้บริการเป็นประจำเป็นการ สร้างนิสัย การเรียนรู้ การเสริมความรู้เพิ่มเติมและสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ |
|
5) ศูนย์เรียนรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน |
|
เป็นส่วนที่แสดงถึงความสำเร็จจากประสบการณ์การดำเนินชีวิต ทำงานของปราชญ์ชาวบ้านที่มีวิถีการทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับตนเอง และหรือชุมชน โดยผ่านกระบวนการ ปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากชีวิตการลองผิดลองถูก เรียนรู้ด้วยตนเอง ท่ามกลางปัญหาที่หลากหลายมีการทอดบทเรียนการเรียนรู้สามารถตกผลึกจนกลาย เป็นภูมิปัญญา ซึ่งหลักคิดและ วิถีชีวิตของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นสิ่งที่คนสมัยนี้ ควรได้เรียนรู้และนำไปเป็นแบบ อย่างในการดำรงชีวิต |
|
6 ) ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น |
|
เป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวบ้านซึ่งได้มาจากประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความ รู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีคนปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ ซึ่งภูมิปัญญาดังกล่าว เป็นความรู้เกี่ยวกับวิถีการดำรงชีวิตและการทำมาหากินเช่น การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การจักสาน นอกจากนี้ยังมีศิลปะ ดนตรี การละเล่น ประเพณีต่างๆ รวมทั้งการดูแลสุขภาพ อนามัยและการรักษาโรคด้วยสมุนไพร ฯลฯ |
|
7) ประเพณี และวัฒนธรรมพื้นบ้าน |
|
เป็นการเรียนรู้ผ่านการแสดงหรือการละเล่นที่แฝงไว้ด้วยวัฒนธรรมของชาวบ้านที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตที่ไม่ได้ มีเป้าหมายเพื่อการบันเทิง ความสนุกสนานเท่านั้น สื่อพื้นบ้าน มีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ ความเป็นเอกลักษณ์ ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย ได้แก่ เพลงลูกทุ่ง หมอลำ โปงลาง สาระพันญะ กีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น |
|
|
|