แนวคิดธนาคารต้นไม้ คืออะไร การจัดการที่ดินทำกินของประเทศไทย ผูกโครงสร้างให้สัมพันธ์ทางตรงกับระบบการเงิน คือที่ดินเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่ใช้ เป็นทุนและเน้น ให้มี การซื้อขายหรือ สะสมกันอย่างเสรี ทำให้ประชาชนสูญเสียแผ่นดิน นำไปสู่การรุกรานทรัพย์สินสาธารณะ การจัดการที่ดินทำกินของประเทศ ที่โครงสร้างให้สัมพันธ์ทางตรงกับระบบ การเงินและหนี้สินตามแนวทางทุนนิยม นั้น ทำให้เกิดการกระตุ้นให้แปลงที่ดินเป็นทุน สู่กระบวนการพัฒนาการผลิตสนองตอบต่อความต้องการตามแบบกระแสทุนนิยม กล่าวคือ การสะสมทรัพย์หรือการบริโภคที่เกินแก่ความจำเป็นและการจัดการชั้นความ หรูหรา เพื่อยกฐานะความเป็นผู้มั่งมี ทำให้ผู้ถือครองที่ดินใช้ที่ดินไปเป็นหลักประกันการกู้ยืม เพื่อสร้าง ผลผลิตสูงสุดก่อเกิดความคาดหวังว่าจะได้สะสมสูงสุด เป็นเครื่องมือของระบบทุนนิยม ซึ่งหวังมั่งมีเกินความเป็นจริง เมื่อผิดพลาดด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ทำให้ต้องสูญเสีย ที่ดินทำกิน ดั้งเดิมไป อย่างรู้ไม่เท่าทันการณ์ แต่กระบวนการยังไม่สิ้นสุด การเปิดโอกาสของสังคมยังมี โดยให้ประชาชนที่สูญเสียที่ดินได้หาแผ่นดินใหม่อันเป็นทรัพย์สาธารณะหรือ ของมหาชน ได้แก่ ป่าและที่สาธารณะทั้งปวง ที่ไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่ยอมเสี่ยง โดยไม่ต้องซื้อก็ได้มา ซึ่งที่ทำกินอีกครั้ง แต่เมื่อได้มาก็ถูกกระชากเข้าในวัฏฏะอันเดิม (วงจรอุบาทว์) การเป็นหนี้สินทำให้ต้องสูญเสียที่ดินทำกินอีกครั้ง และอีกกี่ครั้งจึงจะจบลง สุดท้ายที่ดินทำกินทั้งหมดก็จะตกอยู่ในมือนายทุนที่ใช้แรงงาน ราคาถูกจากต่างชาติเป็นผู้ดูแลจัดการพื้นที่ แล้วเอากำไรไปสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทั้งภาคผลิตและบริการ รองรับคนไร้ที่ทำกินไปรับจ้าง เป็นผู้รับใช้ราวทาสผู้ไม่มีทางไป |