หน้าหลัก
  เกี่ยวกัยศูนย์
  วิทยากร
  ผู้บริหารศูนย์
  ติดต่อเรา
Eng English Thai
แผนที่
facebook ของศูนย์ป่ารักษ์น้ำ
facebook
   
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์ โครงสร้งพื้นฐาน กิจกรรม ภาพกิจกรรม วีดีโอ สถานที่ท่องเที่ยว สินค้า
 
 
 
 
ฐานฅนรักษ์หมู
 

หมูหลุม … การเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ

เดิมเรานิยมเลี้ยงหมูหลังบ้านครอบครัวละ 1-2 ตัว เพื่อเอาไว้กินเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แล้วหาผัก หญ้า ต้นกล้วย บอน มะละกอ เอามาเสริม ทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูงเกินไป เป็นการเลี้ยแบบเก็บออมเงิน เป็นหมูออมสิน ต่อมาวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์เจริญก้าวหน้า สามารถให้อาหารสำเร็จรูปแก่ลูกหมูหย่านม เลี้ยงด้วยอาหารเพียง 4-5 เดือน ก็ทำน้ำหนักได้ถึง 100 กก . แต่เมื่อคิดค่าอาหาร การจัดการ และเทคโนโลยีเทียบกับราคาขายในท้องตลาด ปรากฏว่าขาดทุน สิ่งแวดล้อมก็ไม่ดี ส่งกลิ่นเหม็น หลายคนจึงเลิกเลี้ยงแล้วไปทำอาชีพอื่นแทน

ก ารเลี้ยงหมูหลุมหรือหมูชีวภาพ เป็นการนำทรัพ - ยากรธรรมชาติหรือผลพลอยได้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลตอบแทนจากการเลี้ยงนอกจากจะมีรายได้จากการขายตัวหมูแล้ว ยังได้ปุ๋ยชีวภาพจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งการเลี้ยงหมูโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและไม่เอื้อต่อการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถเลี้ยงได้เพราะปัจจัยการผลิตต่างๆ สูงมาก นอกจากนี้ถ้าขาดการบริหารจัดการของเสียจากฟาร์มที่ดีจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น น้ำเสีย แมลงวันและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

ห มูหลุมสามารถลดต้นทุนได้มากกว่าร้อยละ 70 ลดการใช้แรงงานไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีมลภาวะ ไม่มีแมลงวันรบกวน หมูจะมีสุขภาพดี แข็งแรง ให้เนื้อสีชมพู ยืดหยุ่นมีไขมันพอเหมาะ ชุ่มน้ำ และมีกลิ่นหอม เป็นที่ติดใจของผู้บริโภค ซึ่งเหล่านี้เป็นผลจากธรรมชาติ แสงแดด อากาศที่บริสุทธิ์ น้ำสะอาด และพื้นคอกที่นุ่ม ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านแบคทีเรีย ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตและสารปรุงแต่งต่างๆ เนื้อหมูก็จะปราศจากสารพิษตกค้างต่างจากการเลี้ยงหมูระบบอุตสาหกรรม ซึ่งไม่สอดคล้องกับระบบธรรมชาติ

 

ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ
ศูนย์เรียนเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนป่ารักษ์น้ำ
55 หมู่ที่ 10 บ้านหนองหินตั้ง ตำบลนาเหล่าอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 39170 - แผนที่ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ 
Tel : +66 (0) 0833564997 | www.paraknam.com
ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ ไม่สงวนสิทธิ์ ในการนำข้อมูลหรือเนื้อหาไปเผยแพร่ จัดทำเว็บเพจโดย ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ
(C) Copyright  2009-2023 All rights reserved Create By Paraknam Learning Centre